สวัสดีค่ะ วันนี้มีเรื่องเบาๆ ที่ไม่ยากมาฝากค่ะ สำหรับจุดที่น่าสนใจคือเรื่องของการแปล
กาล (tense) เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าทุกประโยคในภาษาอังกฤษต้องมีพวกหน่วยคำที่แสดง
กาลเช่น -s บอกปัจจุบันกาล -ed บอกอดีตกาล ในภาษาไทยเราใช้วลีบอกเวลา หรือไม่ก็ละไว้
ในฐานที่เข้าใจ ทำให้บางครั้งเราลืมนึกถึงความหมายของกาลเหล่านี้
กาล (tense) เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าทุกประโยคในภาษาอังกฤษต้องมีพวกหน่วยคำที่แสดง
กาลเช่น -s บอกปัจจุบันกาล -ed บอกอดีตกาล ในภาษาไทยเราใช้วลีบอกเวลา หรือไม่ก็ละไว้
ในฐานที่เข้าใจ ทำให้บางครั้งเราลืมนึกถึงความหมายของกาลเหล่านี้
วันนี้เรามานึกถึงการถ่ายทอดความหมายของกาลด้วยวลีที่เหมาะสมกันค่ะ
Counting crows in Columbo Columbo, AP
| นับกาในกรุง โคลัมโบ โคลัมโบ, เอพี
|
คำอธิบาย หัวข่าว ผู้เขียนข่าวที่ออกจะเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอนอยู่หน่อย อุตส่าห์เฟ้นคำที่มีเสียงพยัญชนะต้น เหมือนกันสามคำมาเป็นหัวข่าวแม้จะสื่อได้ไม่ตรงกับใจความของเรื่องนัก ดิฉันจึงเลียนแบบ โดยหาคำที่มีเสียงพยัญชนะต้นเหมือนกัน แต่ให้ถ่ายความหมายได้ใกล้เคียงมาใช้ จึงออกมา เป็น นับกาในกรุงโคลัมโบ ค่ะ ย่อหน้าที่ 1 แสดงกาลด้วย present perfect หมายถึงการพึ่งกานี่มีมานานจนถึงปัจจุบัน กาลนี้มีวลีที่คิด ว่าใช้ได้คือ หลายปีมานี้ หรือ ในระยะหลายปีมานี้ หรือ ...มาหลายปีแล้ว ก็ได้ แต่ถ้าจะใช้ ว่า "หลายปีมาแล้วที่..." คงไม่เหมาะค่ะเพราะอาจหมายถึงอดีตก็ได้ อีกเรื่องที่น่าสนใจในย่อหน้านี้ คือลักษณะของภาษาอังกฤษที่ไม่นิยมใช้คำซ้ำ เช่น "กรุงโคลัมโบ" ในข่าวชิ้นนี้มีใช้อยู่สามคำคือ Sri Lanka's capital ในย่อหน้านี้ Columbo ในย่อหน้าที่ 2 และ this tropical city of 1.2 million people ในย่อหน้า ที่ 3 ถ้าต้องการแปลแบบเก็บใจความสำคัญเท่านั้นก็อาจแปลว่ากรุงโคลัมโบทุกคำไปก็ได้ แต่ถ้าจะถ่ายทอดลักษณะหลากหลายของการใช้คำ ก็แปลตรงตามต้นฉบับก็ได้ ซึ่งการจะ เลือกอย่างใดนั้นเป็นลีลาของผู้แปลแต่ละท่านค่ะ ย่อหน้าที่ 2 อนุประโยคทั้งสองในประโยคนี้ กาลที่ใช้เป็น present continuous ภาษาไทยมีวลีบอกกาลนี้ ให้เลือกใช้หลายวลีเช่น ขณะนี้ ระยะนี้ ปัจจุบันนี้ ช่วงนี้ ในระหว่างนี้ หรือจะขยายกริยา ด้วยคำว่า กำลัง หรือ กำลัง...อยู่ ก็ได้ค่ะ ถ้าข้อความต่อมามีกรอบเวลาเดียวกัน ใช้วลีเหล่านี้ ที่เดียวก็คลุมความได้ทั้งหมด ดังในย่อหน้านี้ที่ดิฉันใช้ ขณะนี้ ค่ะ being poisoned ระหว่างโดนยาพิษ กับถูกยาเบื่อ ดิฉันเลือกอย่างหลังเพราะเน้นความ หมายว่าเป็นการได้รับพิษที่มีคนจัดการไว้โดยปนมากับสิ่งที่รับประทานเข้าไป ส่วนโดนยาพิษ นั้นอาจไม่ได้ปนกับอาหาร หรืออาจรับเข้าโดยทางอื่นก็ได้ เช่นถูกฉีด สูดดม เป็นต้น ย่อหน้าที่ 3 ใช้ present continuous เช่นเดียวกับย่อหน้าที่ 2 เพราะเป็นข้อความในกรอบเวลาเดียวกัน ดิฉันคิดว่าผู้อ่านเข้าใจได้โดยไม่ต้องใช้วลีบอกกาลซ้ำอีก ย่อหน้าที่ 4 ประโยคต้นเป็น present tense บอกกิจวัตรของชาวเมือง ในภาษาไทยไม่ค่อยแสดงกาลนี้ เท่าที่พอนึกออกคือเติมคำว่า ชอบ เช่น ชาวศรีลังกาชอบทิ้งเศษอาหาร... แต่รู้สึกว่าเป็น ภาษาพูดมากไปค่ะ ดิฉันจึงใช้คำว่า มัก แทน ส่วนประโยคหลังเป็น present perfect passive voice แสดงความหมายว่ากามากินตั้งแต่เที่ยงจนเย็น การแปลความหมายของ กาลนี้ดิฉันต้องระวัง เพราะไม่อยากถ่ายทอดความหมายนี้ในลักษณะที่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่า ฝูงกาพากันมาจิกกินเกือบหมดเฉพาะตอนเย็นเท่านั้น ในฉบับร่างดิฉันพยายามเลี่ยง passive voice จึงได้ประโยคอย่างนี้ค่ะ พอตกเย็นกาจะพากันมาจิกกินเศษอาหารเหล่านี้กันเกือบหมด แต่รู้สึกว่าเหมือนจะหมายถึงกามาเฉพาะตอนเย็น จึงลองเปลี่ยนเป็นประโยค passive voice ว่า พอตกเย็นเศษอาหารเหล่านี้ถูกกาจิกกินกันเสียเกือบหมดแล้ว แล้วก็ต้องแปลกใจ มากค่ะที่มันสื่อได้อย่างใจ แสดงว่าการเปลี่ยนจุดโฟกัสไปที่อาหารซึ่งเป็นกรรม ทำให้ผู้อ่าน เห็นภาพได้ชัดเจนกว่าว่ามันค่อยๆ หมดไป ก็ขอฝากประสบการณ์นี้ไว้สำหรับท่านผู้ทำงาน แปล ลองพิจารณาด้วยนะคะ ว่าในบางกรณีการใช้รูปประโยค passive ก็ให้น้ำหนักได้ดีกว่า ย่อหน้าที่ 5 ประโยคแรกเป็น continuous tense ดิฉันเลือกใช้ กำลัง เป็นตัวขยายกริยา ประโยคที่ 2 กรอบเวลาเป็น past tense เราอาจใช้คำว่า ได้ หรือ แล้ว ก็ได้ แต่คิดว่าในภาษาไทย เรามัก ละคำพวกนี้ได้ถ้าทราบชัดเจนอยู่แล้วว่าเป็นการเล่าสิ่งที่เกิดขึ้น ดิฉันจึงไม่ได้ใช้เลยในย่อหน้า นี้ ส่วนประโยคสุดท้ายเป็น present perfect ใช้ว่า จากนั้นเป็นต้นมา ย่อหน้าที่ 6-7 ในย่อหน้าที่ 6 ประโยคแรกใช้ present perfect แสดงการกระทำที่เพิ่งเสร็จสดๆ ร้อนๆ ซึ่ง ก็เท่ากับเป็นอดีตนั่นเอง ประโยคที่ 2 เป็น past tense เช่นเดียวกับประโยคแรกของย่อหน้า ที่ 7 ดิฉันใช้คำว่า ได้ เพียงครั้งเดียว (ไม่ใช้ก็ได้ค่ะ) ส่วนประโยคสุดท้ายเป็น present tense ไม่ได้ใช้คำแสดงกาลค่ะ พบกันใหม่คราวหน้า สวัสดีค่ะ |
No comments:
Post a Comment