Search e4thai.com

Loading

Friday, January 20, 2012

January 7: How to convey the sense of tenses in Thai.

ที่มา: http://www.bangkokpost.com/education/site2003/trja0703.htm


สวัสดีค่ะ วันนี้มีเรื่องเบาๆ ที่ไม่ยากมาฝากค่ะ สำหรับจุดที่น่าสนใจคือเรื่องของการแปล
กาล (tense) เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าทุกประโยคในภาษาอังกฤษต้องมีพวกหน่วยคำที่แสดง
กาลเช่น -s บอกปัจจุบันกาล -ed บอกอดีตกาล ในภาษาไทยเราใช้วลีบอกเวลา หรือไม่ก็ละไว้
ในฐานที่เข้าใจ ทำให้บางครั้งเราลืมนึกถึงความหมายของกาลเหล่านี้
วันนี้เรามานึกถึงการถ่ายทอดความหมายของกาลด้วยวลีที่เหมาะสมกันค่ะ
Counting crows in Columbo
Columbo, AP  
  1. Authorities for years have counted on crows to help clear smelly garbage from the streets of Sri Lanka's capital.
  2. But hundreds of crows are dropping dead in Columbo, triggering concern that they are being poisoned.
  3. The city is wondering what it would do without the hundreds of thousands of black birds that clear tons of leftover food in this tropical city of 1.2 million people.
  4. Many Sri Lankans eat their lunch of rice and curry outside and tend to throw the leftovers on the ground. By evening most of the leftovers have been eaten by the crows.
  5. The crow deaths are making front-page news in Sri Lanka. One newspaper jokingly linked the phenomenon to the US embassy because some of the first deaths occurred around its compound. Since then, dead crows have been found near the president's house and five-star hotels.
  6. City officials have asked the police to investigation and sent some of the dead crows to the Medical Research Institute for an autopsy.
  7. The autopsy found traces of a toxic pesticide, and the police were told the crows were poisoned - though whether intentionally or not remains a mystery. However, many Columbo residents are fed up with the screeching crows.
นับกาในกรุง
โคลัมโบ

โคลัมโบ, เอพี
  1. เจ้าหน้าที่เทศบาลอาศัยพวก
    กาคอยกำจัดเศษขยะที่มี
    กลิ่นเหม็นให้หมดไปจาก
    ท้องถนนในเมืองหลวงของ
    ศรีลังกามาหลายปีแล้ว
  2. แต่ขณะนี้ในกรุงโคลัมโบมีกา
    นับร้อยตัวตกลงมาตาย ทำให้
    เกิดความเป็นห่วงว่ากาพวกนี้
    คงถูกยาเบื่อเป็นแน่
  3. ชาวเมืองสงสัยกันอยู่ว่าจะทำ
    อย่างไรถ้าไม่มีกานับแสนตัว
    คอยช่วยเก็บกวาดเศษอาหาร
    หนักหลายตันให้เมืองในเขต
    ร้อนที่มีคนอยู่ถึง 1.2 ล้านคน
    เมืองนี้
  4. ชาวศรีลังกาจำนวนไม่น้อย
    ที่กินข้าวแกงมื้อเที่ยงกัน
    นอกบ้าน และมักโยนเศษ
    อาหารทิ้งบนพื้น พอตกเย็น
    เศษอาหารเหล่านี้จะถูกกา
    จิกกินกันเสียเกือบหมดแล้ว
  5. การตายของกากำลังเป็นข่าว
    หน้าหนึ่งในศรีลังกา มี
    หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งรายงาน
    เรื่องนี้อย่างติดตลก โดยโยง
    เข้ากับสถานทูตอเมริกัน
    เพราะในบรรดากาที่ตายพวก
    แรกๆ มีบางตัวตายแถวบริเวณ
    สถานทูต แต่จากนั้นเป็นต้นมา
    ก็มีผู้พบเห็นกาตายอยู่ใกล้ที่
    บ้านพักประธานาธิบดีก็มี ใกล้
    โรงแรมระดับห้าดาวก็มี
  6. เจ้าหน้าที่เทศบาลได้ขอให้
    ตำรวจช่วยตรวจสอบเรื่องนี้
    และส่งซากกาไปให้สถาบัน
    วิจัยทางการแพทย์ทำการผ่า
    พิสูจน์
  7. จากการพิสูจน์ซากพบร่องรอย
    ของยาฆ่าแมลง และมีผู้บอก
    ตำรวจว่ากาเหล่านี้ถูกยาเบื่อ
    — จะด้วยเจตนาหรือไม่ก็ยัง
    ไม่ชัดแจ้ง — อย่างไรก็ตาม
    คนที่อยู่ในเมืองโคลัมโบมี
    ไม่น้อยเหมือนกันที่เบื่อหน่าย
    พวกกาที่ส่งเสียงร้องแสบแก้วหู

คำอธิบาย
หัวข่าว

ผู้เขียนข่าวที่ออกจะเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอนอยู่หน่อย อุตส่าห์เฟ้นคำที่มีเสียงพยัญชนะต้น
เหมือนกันสามคำมาเป็นหัวข่าวแม้จะสื่อได้ไม่ตรงกับใจความของเรื่องนัก ดิฉันจึงเลียนแบบ
โดยหาคำที่มีเสียงพยัญชนะต้นเหมือนกัน แต่ให้ถ่ายความหมายได้ใกล้เคียงมาใช้ จึงออกมา
เป็น นับกาในกรุงโคลัมโบ ค่ะ



ย่อหน้าที่ 1
แสดงกาลด้วย present perfect หมายถึงการพึ่งกานี่มีมานานจนถึงปัจจุบัน กาลนี้มีวลีที่คิด
ว่าใช้ได้คือ หลายปีมานี้  หรือ ในระยะหลายปีมานี้ หรือ ...มาหลายปีแล้ว ก็ได้ แต่ถ้าจะใช้
ว่า "หลายปีมาแล้วที่..." คงไม่เหมาะค่ะเพราะอาจหมายถึงอดีตก็ได้

อีกเรื่องที่น่าสนใจในย่อหน้านี้ คือลักษณะของภาษาอังกฤษที่ไม่นิยมใช้คำซ้ำ เช่น
"กรุงโคลัมโบ" ในข่าวชิ้นนี้มีใช้อยู่สามคำคือ Sri Lanka's capital ในย่อหน้านี้
Columbo ในย่อหน้าที่ 2 และ this tropical city of 1.2 million people ในย่อหน้า
ที่ 3 ถ้าต้องการแปลแบบเก็บใจความสำคัญเท่านั้นก็อาจแปลว่ากรุงโคลัมโบทุกคำไปก็ได้
แต่ถ้าจะถ่ายทอดลักษณะหลากหลายของการใช้คำ ก็แปลตรงตามต้นฉบับก็ได้ ซึ่งการจะ
เลือกอย่างใดนั้นเป็นลีลาของผู้แปลแต่ละท่านค่ะ

ย่อหน้าที่ 2
อนุประโยคทั้งสองในประโยคนี้ กาลที่ใช้เป็น present continuous ภาษาไทยมีวลีบอกกาลนี้
ให้เลือกใช้หลายวลีเช่น ขณะนี้ ระยะนี้ ปัจจุบันนี้ ช่วงนี้ ในระหว่างนี้ หรือจะขยายกริยา
ด้วยคำว่า กำลัง  หรือ กำลัง...อยู่  ก็ได้ค่ะ ถ้าข้อความต่อมามีกรอบเวลาเดียวกัน ใช้วลีเหล่านี้
ที่เดียวก็คลุมความได้ทั้งหมด ดังในย่อหน้านี้ที่ดิฉันใช้ ขณะนี้ ค่ะ

being poisoned ระหว่างโดนยาพิษ กับถูกยาเบื่อ ดิฉันเลือกอย่างหลังเพราะเน้นความ
หมายว่าเป็นการได้รับพิษที่มีคนจัดการไว้โดยปนมากับสิ่งที่รับประทานเข้าไป ส่วนโดนยาพิษ
นั้นอาจไม่ได้ปนกับอาหาร หรืออาจรับเข้าโดยทางอื่นก็ได้ เช่นถูกฉีด สูดดม เป็นต้น

ย่อหน้าที่ 3
ใช้ present continuous เช่นเดียวกับย่อหน้าที่ 2 เพราะเป็นข้อความในกรอบเวลาเดียวกัน
ดิฉันคิดว่าผู้อ่านเข้าใจได้โดยไม่ต้องใช้วลีบอกกาลซ้ำอีก

ย่อหน้าที่ 4
ประโยคต้นเป็น present tense บอกกิจวัตรของชาวเมือง ในภาษาไทยไม่ค่อยแสดงกาลนี้
เท่าที่พอนึกออกคือเติมคำว่า ชอบ  เช่น ชาวศรีลังกาชอบทิ้งเศษอาหาร...  แต่รู้สึกว่าเป็น
ภาษาพูดมากไปค่ะ ดิฉันจึงใช้คำว่า มัก แทน ส่วนประโยคหลังเป็น present perfect passive voice แสดงความหมายว่ากามากินตั้งแต่เที่ยงจนเย็น การแปลความหมายของ
กาลนี้ดิฉันต้องระวัง เพราะไม่อยากถ่ายทอดความหมายนี้ในลักษณะที่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่า
ฝูงกาพากันมาจิกกินเกือบหมดเฉพาะตอนเย็นเท่านั้น ในฉบับร่างดิฉันพยายามเลี่ยง passive
voice จึงได้ประโยคอย่างนี้ค่ะ พอตกเย็นกาจะพากันมาจิกกินเศษอาหารเหล่านี้กันเกือบหมด แต่รู้สึกว่าเหมือนจะหมายถึงกามาเฉพาะตอนเย็น จึงลองเปลี่ยนเป็นประโยค passive voice
ว่า พอตกเย็นเศษอาหารเหล่านี้ถูกกาจิกกินกันเสียเกือบหมดแล้ว แล้วก็ต้องแปลกใจ
มากค่ะที่มันสื่อได้อย่างใจ แสดงว่าการเปลี่ยนจุดโฟกัสไปที่อาหารซึ่งเป็นกรรม ทำให้ผู้อ่าน
เห็นภาพได้ชัดเจนกว่าว่ามันค่อยๆ หมดไป ก็ขอฝากประสบการณ์นี้ไว้สำหรับท่านผู้ทำงาน
แปล ลองพิจารณาด้วยนะคะ ว่าในบางกรณีการใช้รูปประโยค passive ก็ให้น้ำหนักได้ดีกว่า

ย่อหน้าที่ 5
ประโยคแรกเป็น continuous tense ดิฉันเลือกใช้ กำลัง เป็นตัวขยายกริยา ประโยคที่ 2
กรอบเวลาเป็น past tense เราอาจใช้คำว่า ได้  หรือ แล้ว  ก็ได้ แต่คิดว่าในภาษาไทย เรามัก
ละคำพวกนี้ได้ถ้าทราบชัดเจนอยู่แล้วว่าเป็นการเล่าสิ่งที่เกิดขึ้น ดิฉันจึงไม่ได้ใช้เลยในย่อหน้า
นี้ ส่วนประโยคสุดท้ายเป็น present perfect ใช้ว่า จากนั้นเป็นต้นมา

ย่อหน้าที่ 6-7
ในย่อหน้าที่ 6 ประโยคแรกใช้ present perfect แสดงการกระทำที่เพิ่งเสร็จสดๆ ร้อนๆ ซึ่ง
ก็เท่ากับเป็นอดีตนั่นเอง ประโยคที่ 2 เป็น past tense เช่นเดียวกับประโยคแรกของย่อหน้า
ที่ 7 ดิฉันใช้คำว่า ได้ เพียงครั้งเดียว (ไม่ใช้ก็ได้ค่ะ) ส่วนประโยคสุดท้ายเป็น present tense
ไม่ได้ใช้คำแสดงกาลค่ะ

พบกันใหม่คราวหน้า สวัสดีค่ะ 





  • This lesson is prepared by Asso.Prof. Kasemsri Vonglertvidhya, a former lecturer in English and Linguistics at Western Language Department, Srinakarinwirot University (Bangkhen Campus). She is now Director of English Language Training Program, Faculty of Education, SWU, and a freelance translator. 
  • No comments: